สำนวนอเมริกันในหมวดอักษร “C” (ต่อ) # 27-07

สำนวนอเมริกันในหมวดอักษร “C” (ต่อ)
สัปดาห์นี้ ขอแนะนำคำง่าย ๆ ในภาษาอังกฤษหรืออังกฤษมะกัน ซึ่งเป็นที่ใช้กันคุ้นหูคุ้นปาก และจะว่าคุ้นมือ ซึ่งหมายถึงใช้ขีดเขียนกันอยู่แล้วทุกบ่อย ๆ แล้วปิดท้ายด้วย “คารม-คม-ระคาย” อย่างเคย เพื่อความรู้และสนุกกับภาษาอังกฤษเช่นเคยต่อไป
กล่าวคือ ในภาษาอังกฤษนั้น เมื่อเรียงกันมาตามอักษร เราก็มาถึงคำว่า “Come” ซึ่งเป็นคำสำคัญที่ใช้กันบ่อย ๆ และถือได้ว่าเป็นคำ “Keyword” แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมีคำคุณศัพท์ (Adj.) หรือกริยาวิเศษณ์ (Adv.) เข้ามาร่วมด้วยก็มีความหมายกว้างขวาง มีฤทธิเดชกลายเป็นสำนวนที่น่าเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งต่อไปอีกมากมาย อาทิเช่น
“Come about” ( เท่ากับ to happen) ซึ่งเราใช้ในประโยคเช่น “Can you tell me how the accident came about?” ก็แปลได้ว่า คุณจะบอกผมได้ไหมครับว่า อุปทวเหตุนั้นก็ขึ้นได้อย่างไร
“Come across” สำนวนนี้มีหลายชั้นเชิง หลายความหมาย กล่าวคือ (1) ในความหมายที่ว่าได้ไปพบปะอะไรเข้า (to meet or find something) เช่น “I came across children sleeping under the bridge.” แปลได้ว่า อั๊วไปเจอเด็ก ๆ นอนกันอยู่ใต้ถุนสะพานนั่นแน่ะ หรือ (2) ในความหมายที่ว่าได้มีการกระทำที่เป็นบวก (to make a particular impression) เช่น “Judy came across very well in the interview.” ซึ่งแปลได้ว่า จูดี้ผ่านการสัมภาษณ์ไปได้อย่างงดงามเลยทีเดียว และในความหมายที่ (3) ในความหมายที่ว่ามีการกระทำเป็นผลสำเร็จ (To provide or supply something when you need it.) เช่น “I hope my assistant would come across with some more information.” ซึ่งแปลได้ว่าผมหวังว่าผู้ช่วยของผมคงจะสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมมาได้เป็นผลสำเร็จ เป็นต้น ทั้งนี้ ขอให้สังเกตว่าถึงแม้ความหมายของสำนวนที่ว่า “Come across” นี้จะออกไปได้หลายแง่ก็จริงอยู่ แต่ทุกความหมายก็มีจุดรวมกันอยู่ที่ว่า ล้วนแต่มีการกระทำที่ได้ผลบวก หรือสามารถข้ามสิ่งที่เป็นอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จได้ในทุกความหมาย ทั้งสิ้น
“Come again” ( เท่ากับ to say it again. I didn’t hear you) ถ้อยคำนี้เป็นคำพูดซึ่งอาจโบราณอยู่สักหน่อย แต่ท่านก็ยังอาจได้ยินคนเขาเอามากล่าวกับท่านได้บ้างเหมือนกัน ซึ่งมันหมายความว่า เขาขอร้องให้ท่านพูดอะไรไปแล้วนั้นซ้ำให้เขาได้ยินอีกครั้งหนึ่ง เพราะเขายังฟังท่านไม่ถนัดหรือยังไม่ชัดเจน ดังนั้นก็จะเป็นว่า “Come again? You’ll have to talk louder.” คือ เขากล่าวว่า “ไหน ว่าไงน๊ะ คุณพูดให้ดังอีกหน่อยได้ไหม?”
“Come along” ( เท่ากับ to arrive or to appear) ซึ่งเราใช้ได้ในประโยคเช่น “When the right opportunity come along, I will take it.” ซึ่งแปลได้ว่า เมื่อโอกาสที่เหมาะ ๆ มาถึง ผมก็คงจะต้องเอาแน่นอน หรือ อาจใช้ในคำพูดสั้น ๆ ว่า “Come along! We are late already.” ซึ่งแปลได้ว่า “มาเถอะน่า เรามาสายไปเสียแล้วด้วยซ้ำ”
คารม-คม-ระคาย (Quips & Quotes)
• It is easy to sit up and take notice. What is difficult is getting up and taking action. มันง่ายอยู่หรอกที่จะนั่งนิ่งดูดาย แต่มันยากที่จะลุกขึ้นไปทำเองบ้าง
• Just as iron rusts from disuse, even so does inaction spoil the intellect. เหล็กมันขึ้นสนิมได้เพราะโดนปล่อยทิ้งไว้เฉย ๆ ฉันใด สติปัญญาคนเราก็เฉาไปได้เพราะปล่อยให้นิ่งไปเสียเปล่า ๆ ฉันนั้น
ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข

No comments:

Post a Comment