สำนวนอเมริกันในหมวดอักษร “C” (ต่อ)
สัปดาห์นี้ เรามาถึงคำง่าย ๆ ในภาษาอังกฤษอเมริกัน คือ “Come by” แต่เป็นถ้อยคำที่ถือว่าเป็นสำนวนซึ่งมีความหมายอยู่หลายรูปแบบ และจะแนะนำต่อไปด้วยว่า เมื่อเทียบกับสำนวนไทยที่ว่า “ไปไหนไม่รอด” นั้น ควรจะใช้คำพูดเป็นอังกฤษว่าอย่างไร
กับคำว่า “Come by” ซึ่งใช้เป็นคำกริยานั้น ทั้ง ๆ ที่เป็นสำนวนสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่ก็มีความหมายต่างกันอยู่มากสุดแต่การสร้างประโยค และจากประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ การทำความเข้าใจและการเรียนรู้เพื่อให้สามารถรู้จักและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องนั้น ก็หนีไม่พ้นเรื่องที่ว่าต้องพยายามเข้าใจและจดจำให้ได้เท่านั้นเอง เช่น
“How did you come by that scratch on your cheek?” เธอไปได้รอยข่วนที่แก้มนั่นมาได้อย่างไร?
“In rural France, English language magazines are very hard to come by.” ในท้องถิ่นชนบทของประเทศฝรั่งเศสนั้น มักจะหานิตยสารภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้
“Jobs are hard to come by these days.” งานการสมัยนี้มันช่างหายากมากจริง ๆ
“We came by train. It’s more relaxing. Next time, we’ll come by plane. It’s faster.” พวกเรามาทางรถไฟ มันได้ผ่อนอารมณ์ดีเหมือนกัน แต่คราวหน้าจะบินมา คงจะทำเวลาได้ดีกว่าแยะ
“I have a feeling that Jim didn’t come by that watch honestly.” อั๊วรู้สึกว่าไอ้จิมมันไม่ได้นาฬิกานั้นมาอย่างสุจริตเลยจริง ๆ
“How did you come by that new car (idea, information, etc.)?” เธอไปได้รถคันใหม่นี่อย่างไร? (ใช้ประโยคนี้กับคำว่า ความคิด หรือ ข่าวคราว ฯลฯ ก็ได้)
“Come by my office when you have time to talk.” ถ้าพอมีเวลา ก็แวะไปที่สำนักงานของผมซิ เราจะได้คุยกันหน่อย
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้ที่สนใจเรียนรู้นั้น จะต้องจดจำประโยคต่าง ๆ ข้างต้นซึ่งเป็นที่คุ้นหูของฝรั่งอยู่ก่อนแล้ว และอย่าบิดเบือนรูปประโยคให้มันขัดหูเขา แล้วลงท้ายก็จะกลายเป็นว่าพูดกันไม่รู้เรื่องไปเสียเปล่า ๆ
ส่วนสำนวนไทยที่ว่า “ไม่ไหนไม่รอด” หรือ “บ้อเท่าโล่” นั้น ในแง่หนึ่งก็น่าจะเทียบได้กับที่ฝรั่งเขามักจะพูดว่า “Hang in there” ซึ่งทั้งประโยคก็จะเป็นว่า “I’m just hanging in there.” และคนส่วนมากมักจะกล่าวแต่เพียงสั้น ๆ ว่า “Hanging in there.” เมื่อเขาทักทายปราศรัยกันกับคนที่รู้จักมักคุ้นกันพอสมควรอยู่ก่อนแล้ว แทนที่จะพูดแต่คำว่า “Fine” = ก็สบายดี หรือ “So-so” = ก็อย่างงั้นแหละ
มาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านก็จะสามารถตอบคำปฏิสันถารของเพื่อนฝูงที่คุ้นเคยกันอยู่ก่อนแล้วนั้นได้หลายรูปแบบ และแน่ละ เราจะใช้คำว่า “Hanging in there”(ยังไปไหนไม่รอด) เมื่ออยู่ในอารมณ์ที่ไม่อยากคุยให้มากเรื่อง หรือพูดในเชิงถ่อมหรือ ถล่มตัวไว้บ้างก่อนก็ยังไหว
ารม-คม-ระคาย (Quips & Quotes)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment