สำนวนอเมริกันในหมวดอักษร “C” (ต่อ)
ยังมีถ้อยคำอีกมากมายในหมวดอักษร “C” แต่ไม่ใช่ว่าทุกคำจะเป็น “คำใหญ่” หรือ “Key word” เสมอไป และถัดไปจากคำว่า “Clear” ก็มาถึงคำว่า “Climb” ซึ่งเป็นเพียงคำธรรมดาแต่ก็น่าศึกษากันสักนิดหน่อยเหมือนกัน กล่าวคือ
คำว่า “Climb” นี้ ในภาษาอังกฤษเขาใช้ได้ทั้งในความหมายว่า “ไต่ขึ้น” หรือ “ไต่ลง” เช่นว่า “Climb a tree, or a mountain, or a ladder.” ซึ่งล้วนแต่เป็นการไต่ขึ้นสู่ที่สูง และบ่อยครั้งเราก็จะพบว่าเขาใช้บุรพบทเข้าช่วยให้เป็นว่า “To climb up or down the ladder.” และนอกจากนั้นแล้ว เขาก็ใช้คำว่า “ไต่” นี้กับเรื่องที่ไม่ได้เป็นรูปธรรม อย่างเช่นว่า
“The Thai baht has been climbing steadily during the past year.” คือค่าของเงินบาทไทยกำลังไต่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ในช่วงระยะหนึ่งปีที่ผ่านไปนี้ หรือเราจะกล่าวว่า “Our Thai baht has climbed against the U.S. dollar.” ก็ย่อมได้เช่นเดียวกัน
“Only in a few years John has climbed to the top of his profession.” คือภายในเวลาเพียงไม่กี่ปีเลยที่ตาจอห์นไต่เต้าขึ้นไปอยู่ในฐานะเป็นยอดบุคคลในสาขาวิชาชีพของเขาได้แล้ว
การใช้คำ “Climb” นี้ในทางที่เป็นสำนวนซึ่งน่าเรียนรู้ทำความเข้าใจและจดจำก็คือ
“Climb on the bandwagon” “Climb the wall”
สำนวนแรกที่ว่า “Climb on the bandwagon” ซึ่งเมื่อแปลตรงตัวก็หมายความว่า “ปีนป่ายขึ้นไปนั่งกับคนอื่น ๆ บนรถนำขบวนแห่ซึ่งมีคนเล่นดนตรีจำพวกดีดสีและตีเป่าต่าง ๆ” และสำนวนนี้ใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า “แห่ไหนเอาด้วย ช่วยกระพือ” แต่ในความหมายของฝรั่งเขาก็เป็นว่า “มาช่วยกันหน่อย” ดังเช่นในประโยคนี้คือ “Come join us! Climb on the bandwagon and support Senator Hillary Clinton!”
“Look at all those people climbing on the bandwagon! They don’t know what they are getting into!”คือ ไอ้พวกที่เข้าขบวนแห่แหนอะไรนั่น ไม่รู้ว่ามันรู้ตัวหรือเปล่าว่าเขาจะไปไหนกันโว้ย
ส่วนคำว่า “Climb the wall” นั้นเป็นคำกล่าวซึ่งหมายความว่า “สุดทน” หรือทนไม่ไหวเลยทีเดียว” ดังเช่นในประโยคต่อไปนี้ คือ
“I’m so upset I could climb the wall.” คือ “ผมหัวเสียจนแทบจะไต่กำแพงอยู่แล้ว” ถ้าแปลกันตรงตัว แต่ในภาษาไทยเราก็หมายความไปในทำนองว่า “หัวเสียจนแทบจะฆ่าตัวตายอยู่แล้ว”
“The meeting was so long and the speaker so boring that most of the audience wanted to climb the wall.” ประโยคนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งทางฝรั่งเขาใช้คำว่า “ไต่กำแพง” แต่ถ้าแปลเป็นไทยก็ควรจะเป็นว่า “การประชุมยืดยาดเยิ่นเย้อ และองค์ปาฐกก็พูดน่าเบื่อ จนทำให้ผู้ฟังส่วนมากบอกว่าจะทนไม่ไหวอยู่แล้ว”
คารม-คม-ระคาย (Quips & Quotes)
• No failure is ever final, nor is any success. ไม่มีความผิดพลาดใดที่จะเป็นเรื่องเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และความสำเร็จของคนเราก็เช่นเดียวกัน
ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment