To brush off, To brush up
เมื่อเราเดินหน้ากันต่อไปในเรื่องสำนวนที่เรียงกันตามตัวอักษร เราก็จะมาถึงคำว่า “To brush off & To brush up” (ทู บรัช’ ออฟ และ ทู บรัช’ อัพ) ซึ่งเราใช้เป็นคำกริยาในความหมายตรงไปตรงมาก็แปลว่า “ใช้แปรงปัดออกไป” และ “ใช้แปรงมาทำการตบแต่งใหม่” แต่ถ้าเราใช้ในความหมายที่เป็นคำสำนวนก็สามารถทำได้ เช่นในประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ คือ
“To brush off” = to refuse to hear or believe, quickly and impatiently. เอามาใช้ในประโยคอย่างเช่น
“John brushed off Jim’s warning that he might fall from the tree.” คือ ตาจอห์นไม่ให้ความสนใจแม้แต่น้อยเดียวที่จิมเขาเตือนว่าเดี๋ยวก็ตกจากต้นไม้ลงมาหรอก และอย่างในประโยคเช่นว่า
“Smith is very keen on Jane, but she’s always brushing him off.” คือนายสมิททำกะลิ้มกะเหลี่ยกับแม่เจนอยู่มากทีเดียว แต่หล่อนก็ทำท่าปัดสวาทอย่างไม่มีไยดีด้วยเลย
อนึ่ง เราสามารถนำคำว่า สองคำนี้มาใช้ทำหน้าที่เป็นคำนามก็ได้เช่น
“Jane gives him the brush-off.” ซึ่งย่อมมีคำแปลและความหมายในทำนองเดียวกันอยู่เองคือ “ปัดสวาทอย่างไม่สนแม้แต่น้อย” และถ้าจะใช้เป็นคำนามมากครั้งก็เป็นว่า Brush-offs (ขอให้สังเกตว่าเราใส่ตัวเอส ไว้ตรงไหน เมื่อเราทำคำนามนี้ให้เป็นพหูพจน์)
So many brush-offs เช่น “Jane has been giving Smith so many brush-offs that he finally gives up the idea of going after her any longer.” คือแม่เจนนั้นเอาแต่ทำท่าปัดสวาทครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งตาสมิทต้องละทิ้งความคิดที่จะติดตามหล่อนต่อไปอีก
ถัดไปเราก็มาถึงคำว่า To brush up = to refresh one’s memory or skills by practice or review ซึ่งเราสามารถใช้เป็นคำกริยา ในความหมายตามประโยคตัวอย่างเช่น
“Jane spent the summer brushing up her American history as she was to teach that in the fall.” คือ แม่เจนใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนฟื้นฟูความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ชาติอเมริกัน ด้วยเหตุที่ว่าเธอจะต้องสอนวิชานี้ในฤดูใบไม้ร่วงหน้านี้แล้ว
“Smith brushed up his target shooting.” คือตาสมิทฝึกฝนการยิงเป้าให้ได้ดีเหมือนอย่างที่เคยมาก่อน
และคำว่า Brush up นี้ก็สามารถใช้เป็นคำนาม ด้วยการเติมอักษร “เอส” ต่อท้ายให้เป็นว่า Brush-ups ในทำนองเดียวกันกับคำว่า Brush-offs นั่นเอง
No comments:
Post a Comment